head-banpongjed-min
วันที่ 4 ธันวาคม 2023 2:18 PM
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
หน้าหลัก » นานาสาระ » เรียนอย่างไรให้จำ

เรียนอย่างไรให้จำ

อัพเดทวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020

เรียนอย่างไรให้จำ

เรียนให้จำ

 

เรียนให้จำ สวัสดีค่ะวันนี้จะขอมาแนะนำวิธีการจำเพื่อสอบ จริงๆ การเรียนให้สามารถสอบผ่านไม่ใช่เรื่องยากนะคะ เพียงแต่ประโยชน์ของ การเรียนการศึกษาจริงๆ ควรที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันไม่ใช่แค่เรียนไปเพื่อให้สอบผ่าน แล้วก็ผ่านๆไปเท่านั้น วิธีการที่เราจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นวิธีการที่เราใช้ในช่วงที่กำลังเรียนอยู่ค่ะ และได้เห็นถึงความแตกต่างของผลที่ได้รับ

ในช่วงมัธยมปลายเรามักจะใช้วิธีเขียนทุกอย่างลงกระดาษ เขียนลงไปแต่ไม่ได้เอาเข้าห้องสอบนะคะ คือหน้าไหนหรือหัวข้อไหนที่อาจารย์บอกมาว่าให้เน้นในการเตรียมสอบ เราก็จะอ่านและสรุปความ พอสรุปได้แล้วว่าหลักการหรือข้อมูลสำคัญของหัวข้อนี้คืออะไร เราก็จะเขียนลงกระดาษเป็นแผ่นแผ่นเลยค่ะ เขียนไปเรื่อยๆ เพราะการเขียนมันทำให้เราจำได้ค่ะ พอต้องมานึกถึงข้อมูลในนั้นแล้วจะช่วยให้เรานึกออกค่ะ ถ้าหากเป็นวิชาที่จำเป็นต้องจำสูตรหรือวิธีคิดอย่างเช่นคณิตศาสตร์เรามักจะทบทวนโจทย์กับแบบฝึกหัด เปิดหนังสือให้บ่อยๆเพื่อให้โจทย์คณิตศาสตร์เหล่านั้นผ่านมา เรียนให้จำ

แต่ไม่ใช่เปิดอย่างเดียวนะต้องทำโจทย์ด้วย ตอนทำโจทย์คือเขียนลงกระดาษแล้วคำนวณออกมาเลย เหมือนทบทวนแบบฝึกหัด พอเราไปเจอโจทย์ในแบบเดียวกันจะช่วยให้นึกออกและสามารถทำได้ โดยปกติครู อาจารย์ผู้สอนจะมีขอบเขตในการออกข้อสอบ ก่อนสอบมักจะบอกแนวข้อสอบว่าจะเป็นบทเรียนไหนบ้างเพื่อให้นักเรียนสามารถไปทบทวนได้ ดังนั้นอยู่ที่ความใส่ใจของผู้เรียนด้วยนอกเหนือจากวิชาคณิตศาสตร์แล้ววิธีการสรุปข้อมูลลงกระดาษเพื่อเอาไว้อ่านสามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนในหลากหลายวิชาเลยค่ะ

เราขอพูดเกี่ยวกับวิชาทางด้านภาษามากหน่อยนะคะ เพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่เราเห็นผลมากที่สุด วิชาที่จำเป็นต้องท่องจำ อย่างวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ที่ต้องอาศัยการจำคำศัพท์และการจำรูปประโยคก่อนอื่นควรเริ่มจากการท่องศัพท์ให้เราสามารถจดจำได้เสียก่อน เวลาเราเห็นโจทย์ถ้าเรามีความรู้เรื่องคำศัพท์บางครั้งจะช่วยให้เราพอเดาได้ และการจดจำรูปประโยคต่างๆ ว่าอยู่ใน Tense อะไรเพื่อชี้เฉพาะความหมายของประโยคได้ชัดขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการจดจำส่วนหนึ่ง ดังนั้นควรทบทวนคำศัพท์ตั้งแต่เนิ่นๆถ้าจะไปเริ่มท่องศัพท์ในช่วงก่อนสอบเท่านั้นอาจจะจำได้ไม่มากพอ

แต่หากไม่มีเวลา คิดว่ายังไงก็ไม่สามารถอ่านให้ทันได้แนะนำจดลงกระดาษเรียงคำศัพท์ให้ที่อยู่ในหมวดเดียวกันและจัดเป็นกลุ่มจะช่วยให้จำได้ง่ายมากขึ้น ตัวเราเองเคยเอาคำศัพท์ไปเขียวเรียงเป็นหมวด และแต่งเป็นทำนองเพลงเพื่อเอาไว้ร้องจนทุกวันนี้เวลานึกคำไหนไม่ออกก็ไล่ร้องเพลงหมวดคำนั้นๆ ซึ่งช่วยได้จริงๆ อย่างตอนเด็กๆ ในชั้นอนุบาลครูผู้สอนจะมีเพลง A-Z ,

เพลงJanuary ที่ร้องเป็นชื่อเดือน นี่ก็ช่วยให้จดจำด้วยเพลง ตอนที่เราเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศสจำได้ว่าเอาคำศัพท์ต่างแยกเป็นหมวดแล้วเอาไปร้องเพื่อท่องจำ ทำให้เราจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้นและจำจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งตอนที่เรียนมัธยมปลายมีโอกาสได้ไปเรียนพิเศษกับติวเตอร์คนหนึ่ง เทคนิคของพี่ติวเตอร์ที่สอนเราก็คือมีเพลงเยอะมาก แต่ละเพลงแยกเป็นหมวดคำศัพท์ ซึ่งตอนเอาไปสอบเราก็นั่งร้องเพลงในใจไล่ไปเลยถ้านึกศัพท์คำไหนไม่ออก ดังนั้นถือว่าไม่ใช่แค่เราที่รู้สึกว่าการเอาคำศัพท์ไปใส่ในเพลงช่วยให้สามารถจำได้ง่ายขึ้น เราเรียนภาษาหลายภาษามาก ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส พอจบมัธยมปลายก็เรียนภาษาญี่ปุ่น และพอจบปริญญาตรีก็ไปเรียนภาษาเกาหลี หลักการหรือวิธีการที่ใช้ก็มักจะเอาการแต่งเพลงใส่คำศัพท์นี่แหละที่ช่วยได้

ในส่วนของคนที่มีเวลาและต้องการเรียนรู้ด้านภาษาในระยะยาวแนะนำให้หาเพื่อนต่างชาติเพื่อเอาไว้ฝึกและใช้ภาษาบ่อย ๆ ตัวเราเองตอนเรียนมัธยมบอกได้เลยว่าภาษาอังกฤษเรารู้หลักฐานหมดเพราะเรียนมาตั้งแต่เด็ก แต่พอเอาไปใช้จริงไม่กล้าพูดสะอย่างงั้น เพื่อนต่างชาติคนแรกของเราเป็นคนอินเดียรู้จักกันจากเฟสบุ๊คนี่ละค่ะ คุยกันแบบเพื่อนจริงๆ มีอะไรเล่าให้ฟังแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จากตอนแรกเพื่อนเราโทรมาคุยคือเราฟังแทบไม่ออกด้วยความที่เป็นภาษาอังกฤษสำเนียงอินเดียรวมถึงตัวเราตอนนั้นประสบการณ์ในการฟังหรือพูดไม่ได้ดีนัก ก็ไม่กล้าจะพูดออกไป บอกเพื่อนไปตลอดว่าพิมพ์ข้อความมาหาเราเถอะเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด เพื่อนเราก็พยายามเข้าใจ จนเราเริ่มมีเพื่อนต่างชาติมากขึ้นได้คุยผ่านโทรศัพท์มากขึ้น ใช้บ่อยขึ้น เราเริ่มกล้าพูดและฟังออกมากขึ้น

เพื่อนที่เป็นคนอินเดียชวนให้เราไปเที่ยวอินเดียเราเห็นว่าน่าสนใจเลยตัดสินใจไป ตอนไปต้องบอกก่อนว่าเราไม่เคยไปต่างประเทศมาก่อน ประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่เราไปค่ะ ตอนนั่งบนเครื่องบินยังฟังกัปตันประกาศแทบไม่รู้เรื่องเลย แต่ใจสู้ก็ขึ้นเครื่องไปแล้วนี่คะ พอไปถึงเจอเพื่อนครั้งแรกตัวเป็นๆ หลังจากรู้จักกันมาเป็นสิบปี เราถึงได้มีโอกาสพูดบ่อยๆ ใช้ภาษาบ่อยๆ เรียกได้ว่ากล้าพูดมากขึ้น ไม่มีเขินอายแล้วค่ะ อยากบอกทุกคนว่าภาษาทุกภาษาต้องเอาไปใช้จริงถึงจะใช้ได้คล่องและละลายอาการเขินอายออกไปค่ะ เอาไว้จะเล่าเรื่องที่ไปอินเดียทั้งที่ภาษาเราค่อนข้างจะด้อยแทบเป็นง่อยให้ทุกคนฟังนะคะ

การเรียนทุกวิชาไม่อยากให้คิดแค่ว่าเรียนเพื่อเอาไปสอบแต่ลองพยายามให้ทุกวิชามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราก็จะช่วยให้เรามีความตื่นรู้ในเนื้อหาอยู่ตลอด เราเข้าใจค่ะว่าอย่างวิชาคณิตศาสตร์จะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ยังไง เต็มที่ก็คงแค่บวกลบคิดเลขเพื่อทอนเงิน แต่วิชานี้ต้องเอาไปใช้ในการสอบวัดผลเพื่อให้ผ่านไปศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น ดังนั้นการทบทวนบทเรียนต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นนะคะ พยายามเรียนให้สนุกกับมันถ้าแก้โจทย์ไม่ได้ในวันนี้ก็พักก่อน อีกสองสามวันลองทำใหม่หรือไปถามครูผู้สอนให้อธิบายให้เราฟังอีกสักหนเพื่อเพิ่มความเข้าใจก็เป็นสิ่งที่ทำได้ค่ะ อีกทางหนึ่งคือจับกลุ่มกับเพื่อนๆช่วยกันทบทวน ทบทวนกันแบบจริงจังแต่ไม่ต้องเครียดนะคะ เวลาเครียดก็มักจะนึกอะไรไม่ออก วันนี้เหนื่อยก็พักหายเหนื่อยแล้วก็วก็ลองทำใหม่ ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ คุณอาจจะค้นพบเทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเองก็ได้

เขียนโดย ณิชชกา

นานาสาระ ล่าสุด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด