head-banpongjed-min
วันที่ 11 กันยายน 2024 2:07 AM
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
14

นางหทัยรัตน์ ขาวอ่อน

ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด

โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด

โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด ตั้งอยู่หมู่ที่  13  ตำบลบ้านคา  อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม  9  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียน 100 คน ข้าราชการครู  4  คน  สภาพโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  อยู่ในพื้นที่ห่างไกล  กันดาร  ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีและปัจจัยพื้นฐานในการจัดการศึกษา  การบริหารงานภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โรงเรียนได้ดำเนินการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยความประหยัดและคุ้มค่า เกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ทั้งด้านครู ผู้บริหาร

ประวัติ โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด

พ.ศ.2523  โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด  ตั้งขึ้นมาด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่ช่วยกันบริจาคที่ดิน  ทุนทรัพย์  สร้างโรงเรียนขึ้นโดยไม่ต้องการให้บุตรหลาน  เดินทางไปโรงเรียนที่โรงเรียนบ้านคา ซึ่งเป็นระยะทาง  5  กิโลเมตร  และเมื่อฤดูฝนน้ำท่วมสะพานขาด  ไม่สามารถไปเรียนได้หลายวันแรกเดิมใช้ศาลาสำนักสงฆ์โป่งเจ็ดเป็นสถานที่เรียน  ต่อมาทางราชการจึงสร้างอาคารเรียนให้  โดยมีครูอาสา  และพระสงฆ์ช่วยสอน

พ.ศ.2525 ทางราชการจึงส่งครูมาทำการสอน ช่วงนั้นเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  เท่านั้น

พ.ศ.2559  คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ทำโครงการจิตอาสาเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล

ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ดมีเนื้อที่  21  ไร่  เป็นที่ดินราชพัสดุ  ขึ้นทะเบียนเลขที่  รบ.324  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 9  ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ชาย 53  คน หญิง 47 คน  รวมจำนวนทั้งสิ้น  100  คน  มีข้าราชการครู  จำนวน 5 คน  ครูอัตราจ้าง 3 คน ครูธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน และมีนางหทัยรัตน์ ขาวอ่อน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้บริหารโรงเรียน

ทิศทางของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ดได้จัดวางทิศทางสถานศึกษา  โดยกำหนดปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์ และกลยุทธ์  ดังนี้

ปรัชญา
สุตสูลา  สุตวทํ นี   การใฝ่ใจศึกษาเป็นเครื่องพัฒนาความรู้

วิสัยทัศน์
“เน้นความรู้   คู่คุณธรรม   นำสุขภาพดี   มีจิตอาสา   พาสู่เศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

  1. จัดการศึกษาระดับอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
  2. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
  3. กำหนดและดำเนินการควบคุม กำกับ ประเมินผลและตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
  4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อมในการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษา
  5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน
  6. พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
  7. ระดมทรัพยากรประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายทุกภาคส่วน
  8. ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

เป้าประสงค์

  1. ผู้เรียนเป็นคนดี มีความรู้ มีทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ มีทักษะการคิด มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการสื่อสาร สามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา และมีทักษะชีวิตในระดับดี
  2. โรงเรียนมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
  3. โรงเรียนมีการติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบตามมาตรฐานการศึกษา
  4. โรงเรียนมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนอย่าง มีประสิทธิภาพ
  5. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน
  6. โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรและได้รับความร่วมมือจากชุมชนและเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและพัฒนาโรงเรียน
  7. บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  8. โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียนอย่างรอบด้านเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

เอกลักษณ์
กีฬาเด่น   เน้นพอเพียง  เคียงคู่ชุมชน

อัตลักษณ์
โป่งเจ็ดหัวใจพอเพียง

กลยุทธ์สถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อมในการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 ปรับปรุงอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้มีความพร้อมต่อการใช้งาน
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 6 สร้างระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และระดมทรัพยากรทางการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดศึกษา

สีประจำโรงเรียน     เขียว –  น้ำเงิน
สีเขียว    หมายถึง  ความเจริญงอกงาม เปรียบเสมือนการศึกษาและความรู้ทำให้มนุษย์เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สีน้ำเงิน  หมายถึง  ความรู้ ความเฉลียวฉลาด  เปรียบเสมือน การศึกษาทำให้คนมีความรู้ความเฉลียวฉลาด

เป้าหมายคุณภาพที่คาดหวัง
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด มุ่งพัฒนานักเรียน  ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ โดยมีเป้าหมายให้ ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

  1. นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  90
  2. นักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในระดับดี  จำนวนไม่ตำกว่าร้อยละ 75
  3. นักเรียนมีสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับดีร้อยละ  85
  4. นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ  อย่างน้อยคนละ  1  อาชีพ
  5. นักเรียนมีความสามารถในด้าน ดนตรี  กีฬา  นาฏศิลป์ และ ศิลปะ อย่างน้อยคนละ  1 ด้าน
  6. เห็นคุณค่าของตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
  7. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้ามีจิตสำนึกใน
  8. การอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

3 ระบบโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด  มีการแบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป โดยมีหัวหน้างานและผู้ช่วย แต่ละงาน มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เป็นคณะกรรมการให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการในทุก ๆด้าน ทำให้กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด  เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกประการ

วิธีการดำเนินงาน

  1. การวางแผนของโรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด ใช้หลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม  โดยผู้บริหาร คณะครู  ผู้ปกครองนักเรียน  ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโรงเรียน  มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานแต่ละมาตรฐาน ว่าต้องการอะไรที่สอดคล้องกับมาตรฐานนั้น เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป
  2. การนำแผนสู่การปฏิบัติ โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนมีการควบคุม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ จากผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นระยะๆ และมีการรายงานผลความก้าวหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และโดยการประชุม
  3. การตรวจสอบติดตาม โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด มีการวางระบบประเมินตนเองแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมกำกับ ติดตาม นิเทศและประเมินผลการดำเนินการ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ
  4. การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน มีการนำผลการประเมินมาจัดทำเป็นรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Study Report ) เผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาโรงเรียนต่อไป

เขตบริการของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด  รับผิดชอบนักเรียนในเขตบริการ
หมู่ที่ 8  ตำบลบ้านคา  อำเภอบ้านคา  จังหวัดราชบุรี
หมู่ที่ 13  ตำบลบ้านคา  อำเภอบ้านคา  จังหวัดราชบุรี

โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด
โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด